วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

245101 แบดมินตัน

รายชื่อผู้จัดทำ




นายรังสิมันต์ วังซ้าย ชื่อเล่น แม็ก
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา 
เกิดวันที่ 19 ตุลาคม 2535
ที่อยู่ 210 หมู่ 11 ตำบลแม่ขัน อำเภอแม่ขัน จังหวัดเชียงราย
กีฬาที่ชอบ ปิงปอง ฟุตบอล หมากรุก (แต่เล่นได้ทุกอย่าง)
สิ่งที่ชอบ เวลาที่ได้อยู่ใกล้ใครแล้วมีความสุข

** แต่ผมเป็นคนแพ้อย่างหนึ่ง แห้คนน่ารัก เพราะ เวลาอยู่ใกล้เขาทำให้ผมเป็นโรคประจำตัวอยู่เรื่อยไป
เป็นโรคประจำตัวไม่ปวดหัวก็เป็นไข้ เป็นโรคประจำใจไม่ห่วงใยก็คิดถึง

คติประจำใจ
ไม่ว่าจะล้ม จะผิดหวัง
ไม่ว่าจะสำเร็จอะไรก็ตาม
มันยังมีคนที่รอเราอยู่ที่บ้าน
อย่างน้อยก็สองคนคือ พ่อ-แม่



นายศรันยู ชนะชัย ชื่อเล่น โก้
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
เกิดวันที่ 2 กรกฎาคม 2535 
ที่อยู่ 144 หมู่2 ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 31180
กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล ฟุตซอล
คติประจำใจ คนล้ม อย่าข้าม



นายอภิสิทธิ์ รักขาว ชื่อเล่น ต้น
เกิดวันที่ 29 มิถุนายน 2536
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
ที่อยู่ 19 ถนนอุปรรัตน์ ตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 18110
กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล
งานอดิเรก เล่นเกม อ่านหนังสือ
คติประจำใจ หมากรุกยังต้องคิด แล้วหมากชีวิตจะไม่คิดได้อย่างไร



นายมงคล ยุทธโกวิทย์ ชื่อเล่น จุก
เกิดวันที่ 16 ธันวาคม 2535
คณะวิทย์ศาสตร์การกีฬา
ที่อยู่ 59 ถนนริมคลองบางหว้า แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150
กีฬาที่ชอบ แบดมินตัน
คติประจำใจ แม้ล้มสักกี่ครั้งก็ไม่ท้อ ลุกขึ้นมาสู้เพื่อความฝันวันข้างหน้า 


ประวัติ แบดมินตัน



กีฬาแปดมินตัมเชื่อว่ามีการเล่นครั้งแรกที่ยุโรปสมัยตอนปลายศตสรรษที่ 17 แต่ไม่มีหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเล่นกันแพร่หลายในหมู่พระราชวงศ์ของสำนักต่างๆ และมีชื่อเรียกต่างกันไปด้วย
ประวัติของกีฬาแบดมินได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานที่แน่นอนในปี ค.ศ. 1870 คือ กีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย เมืองปูนา ภายหลังนายทหารอังกฤษ ที่ประจำการอยู่ที่นั่นนำเอาการเล่นแบบนี้ไปเผยแพร่ที่ประเทศอังกฤษและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขาวง โดยเฉพาะที่คฤหาสน์ "แบดมินตัน" ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด และกีฬาลูกขนไก่ก็มีชื่อเรียกว่า "แบดมินตัน" ต่อมาชาวยุโรปี่อพยพไปอยู่อเมริกา นำเอากีฬานี้ไปเผยแพร่ด้วย ร่วมทั้งประเทศอื่นๆในทวีปเอเชียก็ได้รับการเผยแพร่ต่อๆกันมา
สมาคมแบดมินตันได้ตั้งขึ้นในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1893 โดยเรียกว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ หรือเรียกว่า"ออลอิงแลนด์" โดยเริ่มจัดตั้งอต่ปี ค.ศ.1889 และในปี ค.ศ. 1934 ได้ตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างชาติขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน มีบทบาทในการกำหนด และควบคุมระเบียบข้อบังคับและกติกาด่างๆ ของเกมแบดมินตันทั่วโลก ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า 60 ประเทศ
เซอร์ จอร์ช โธมัส เป็นนักแบดมินตันของอังกฤษที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสหพันธ์คนแรก เขาได้มอบถ้วยโธมัส สำหรับการแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศ กีฬาแบดมินตันเป็นที่นิยมเล่นทั้งชายและหญิง สหพันธ์จึงจัดให้มีการแข่งขันแบดมินตันสำหรับสตรีขึ้น โดยได้รับถ้วยรางวัลซึ่งบริจาคโดย มิสซิส เอช. อูเบอร์ อดีตนักกีฬาแบดมินตันของอังกฤษ เรียกว่า "อูเบอร์คัพ" เริ่มจัการแข่งขันเมื่อปี 1955 สำหรับการแข่ง "ออลอิงแลนด์" ถือเป็นการแข่งขันประจำปี วงการแบดฯจะยกย่องผู้ที่ชนะเลิศในประเภทต่างๆ ว่าเป็นแชมเปี้ยนโลกอย่างไม่เป็นทางการเสมอ




กติกาแบดมินตัน


       1. สนามและอุปกรณ์สนาม 


1.1สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มม. ตามภาพผัง ก.
1.2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง
1.3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
1.4 เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 1.10 โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)
1.5 เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพผัง ก. โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่
1.6 ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มม. และไม่เกิน 20 มม. 
1.7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มม. และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร
1.8 ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มม. ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
1.9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา 
1.10 สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
1.11 ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็น ต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา



2. ลูกขนไก่

2.1 ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ และ/หรือ วัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม ลักษณะวิถีวิ่งทั่วไป จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากขนธรรมชาติ ฐานเป็นหัวไม้ก๊อก หุ้มด้วยหนังบาง
2.2 ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน
2.3 วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 62 มม. ถึง 70 มม.
2.4 ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58 มม. ถึง 68 มม.
2.5 ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
2.6 ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. ถึง 28 มม. และส่วนล่างมนกลม
2.7 ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม
2.8 ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ
2.8.1 ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ
2.8.2 ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6
2.8.3 ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะ และคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติ ยอมให้มีความแตกต่างได้ถึง 10%
2.9 เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติ จาก องค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้องในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม


       3. การทดสอบความเร็วของลูก

3.1 การทดสอบ ให้ยืนหลังเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรง โดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลัง ลูกจะพุ่งเป็นมุมสูง และอยู่ในแนวขนานกับเส้นเขตข้าง
3.2ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 530 มม. และไม่มากกว่า 990 มม. (ภาพผัง ข.)


       4. แร๊กเกต

4.1 เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มม. ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5 และได้แสดงไว้ในภาพผัง ค.


4.1.1 ด้านจับ เป็นส่วนของแร๊กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ
4.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
4.1.3 หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
4.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)
4.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง

4.2 พื้นที่ขึงเอ็น
4.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ และ
4.2.2 4.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มม. อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มม. และความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มม.
4.3 แร๊กเกต
4.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่นสะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่น และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ
4.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต 
       
       5. การยอมรับอุปกรณ์

       สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ จะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาของแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฏเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เองหรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคล ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือสมาชิกขององค์กรนั้น ๆ

       6. การเสี่ยง

6.1 ก่อนเริ่มเล่น จะต้องทำการเสียง ฝ่ายที่ชนะการเสียง มีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 6.1.1 หรือ 6.1.2
6.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
6.1.2 เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง
6.2 ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก 
       7. ระบบการนับคะแนน

       สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
รายละเอียดของกติกาการนับคะแนนมีดังนี้
1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากันฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้ ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก

       8. การเปลี่ยนข้าง

8.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง:-
8.1.1 หลังจากจบเกมที่ 1
8.1.2 ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี) และ
8.1.3 ในเกมที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนนำถึง 11 คะแนน

8.2 ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 8.1 ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น และให้นับนับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น


       9.การส่งลูก


9.1 ในการส่งลูกที่ถูกต้อง
9.1.1 ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันทีที่ผู้ส่งลูก และผู้รับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว
9.12 ผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องยืนในสนามส่งลูกทะแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก
9.13 บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องแตะพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.5)
9.14 จุดสัมผัสแรกของแร็กเกตผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก
9.15 ทุกส่วนของลูกจะต้องอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่ง ขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูก
9.16 ก้านแร็กเกตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า ส่วนหัวทั้งหมดของแร็กเกตอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับแร็กเกตของผู้ส่งลูก ตามภาพผัง ง.
9.17 การเคลื่อนแร็กเกตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว และ
9.18 วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากแร็กเกตของผู้ส่งลูกข้ามตาข่าย และถ้าปราศจากการสะกัดกั้น ลูกจะตกลงบนพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก (กล่าวคือ บนหรือภายในเส้นเขต)

9.2 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง ตามกติกาของข้อ 9.1.1 ถึง 9.1.8 ถือว่าฝ่ายทำผิด “เสีย” (กติกาข้อ 13)
9.3 ถือว่า “เสีย” ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งลูก โดยตีไม่ถูกลูก
9.4 เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนแร็กเกตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า เริ่มส่งลูก
9.5ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.4) ถ้าแร็กเกตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามจะส่งลูกแต่ตีไม่ถูกลูก
9.6ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม แต่ถือว่าผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป
9.7 ในประเภทคู่ คู่ขาจะยืน ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก


       10. ประเภทเดี่ยว

10.1 สนามส่งลูกและรับลูก
10.1.1 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้ส่งทําคะแนนไม่ได้หรือ
คะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น
10.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามสงลูกด้านซ้าย เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น
10.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว จะเป็นการตีสลับกันของฝ่ายส่งและฝ่ายรับ จากตําแหน่งใดก็ได้ในสนามของแต่ละฝ่ายที่มีตาข่ายกั้น จนกระทั่งลูกไม่อยู่ในการเล่น (กติกาข้อ 15)
10.3 คะแนนและการส่งลูก
10.3.1 ถ้าผู้รับทํา “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเนื่องจากลูกตกลงพื้นสนามฝ่ายรับ ผู้
ส่งลูกได้ 1 คะแนน และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกต่อในสนามส่งลูกอีกด้านหนึ่ง
10.3.2 ถ้าฝ่ายส่งทํา “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเนื่องจากลูกตกลงพื้นสนามของ
ฝ่ายส่ง ฝ่ายรับลูกได้ 1 คะแนน ฝ่ายส่งลูกหมดสิทธิ์ส่ง และฝ่ายรับจะเป็นฝ่ายมีสิทธิ์ส่ง

       11. ประเภทคู่
11.1 สนามส่งลูกและรับลูก
11.1.1 ในการเริ่มต้นเกม ผู้เล่นที่เป็นฝ่ายส่งลูก จะต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูก
ด้านขวา หรือเมื่อฝ่ายส่งลูกยังไม่มีคะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่
11.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.1.3 ให้คู่ขาปฏิบัติในทางกลับกัน
11.1.4 ผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับ ในยืนทแยงมุมตรงข้ามกับฝ่ายส่งลูก โดยจะเป็นผู้รับลูก
11.1.5 ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกขนไก่ถูกตัว หรือถูกคู่ขาของผู้รับลูกตี
ลูก ถือว่า “เสีย” และผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน
11.1.6 การส่งลูกทุกครั้งต้องส่งจากสนามส่งลูกสลับกันไป ยกเว้นตามที่ได้กําหนดไว้
ในกติกาข้อ 12
11.1.7 ผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับ จะต้องไม่เปลี่ยนสนามในการรับลูกส่งจนกระทั่งฝ่ายตนได้
คะแนนจากการส่งลูก
11.2 ลําดับการเล่นและตําแหน่งการยืนในสนาม
11.2.1 หลังจากได้รับลูกที่สงมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายสงคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป และ
ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น (กติกาข้อ 15)
11.2.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโตลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
11.3 การนับคะแนน
11.3.1 ถ้าฝ่ายรับทํา “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของ
ฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน ฝ่ายส่งยังคงได้ส่งลูกต่อในสนามที่สลับกันไป
11.3.2 ถ้าฝ่ายส่งทํา “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของ
ฝ่ายส่ง ฝ่ายรับได้ 1 คะแนน ผู้ส่งหมดสิทธิ์ส่งลูก และฝ่ายรับจะเปลี่ยนเป็นฝ่ายส่งลูก
11.4 การส่งลูก
ในแต่ละเกม สิทธิ์ในการส่งลูกจะต้องเรียงตามลําดับดังนี้
11.4.1 ผู้เล่นคนแรกที่เป็นผู้เริ่มส่ง จะส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา
11.4.2 คู่ขาของผู้รับคนแรก จะเป็นผู้ส่งคนต่อไปจากสนามส่งลูกด้านซ้ายมือ
11.4.3 คู่ขาของฝ่ายส่งครั้งแรก จะยืนที่สนามส่งลูกตามคะแนนของด้านนั้น ๆ (กติกาข้อ 11)
11.4.4 ผู้เล่นของฝ่ายรับคนแรก เมื่อเริ่มเล้นจะยืนที่สนามส่งลูกตามคะแนนของด้าน
นั้น ๆ และจะเป็นเช่นนี้เรื่อยไป (กติกาข้อ 11)
       12. ความผิดในสนามส่งลูก

12.1 ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น :-
12.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกผิดลําดับมือ
12.1.2 ยืนส่งลูกหรือรับลูกในสนามที่ผิด
12.2 ถ้าส่งลูกในสนามที่ผิด จะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น ให้เล่นต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยน
สนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น (หรือไม่มีการเปลี่ยนลําดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)

       13. การทำเสีย

      ถือว่า "เสีย"
13.1 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 9.1) หรือตามกติกาข้อ 9.3 หรือ 11.2
13.2 ถ้าในขณะเล่น ลูกขนไก
13.2.1 ตกลงบนพื้นนอกเส้นเขตสนาม (กล่าวคือ ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม)
13.2.2 ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย
13.2.3 ไม่ข้ามตาข่าย
13.2.4 ถูกเพดาน หรือ ฝาผนัง
13.2.5 ถูกตัวผู้เล่น หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
13.2.6 ถูกวัตถุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคารผู้มีอำนาจเกี่ยวกับ
แบดมินตันท้องถิ่น อาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ ทั้งนี้ ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก)
13.3 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง (อย่างไรก็ดี ผู้ตีอาจใช้แร็กเกตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก)
13.4 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น ผู้เล่น
13.4.1 ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
13.4.2 ล้ำบนตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว ยกเว้นตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในกติกาข้อ 13.3
13.4.3 ล้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ด้วยแร็กเกต หรือด้วยตัว จนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่ต่อสู้
13.4.4 กีดขวางคู่ต่อสู้ กล่าวคือ กันไม่ให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา
13.5 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่ต่อสู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น ร้องตะโกนหรือแสดงท่าทาง
13.6 ถ้าระหว่างการเล่น ลูกขนไก
13.6.1 ติดอยู่ในแร็กเกต แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก
13.6.2 ถูกตีสองครั้งติดต่อกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกัน
13.6.3 ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นติดต่อกัน หรือ
13.6.4 ถูกแร็กเกตของผู้เล่นคนหนึ่ง แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น
13.7 ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือผิดพลาดอยู่ตลอด ตามกติกาข้อ 16
13.8 ถ้าหลังจากส่งลูกแล้วลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย

       14. การ "เอาใหม่"

14.1 การ “เอาใหม่” จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน หรือ โดยผู้เล่น (ถ้าไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน) ขานให้หยุดเล่น
14.1.1 ให้ "เอาใหม่" ถ้าผู้ส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม (ดูกติกาข้อ 9.6)
14.1.2 ให้ "เอาใหม"” ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับและผู้ส่งลูกทำ “เสีย” พร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาเดียวกัน
14.1.3 ให้ "เอาใหม" ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่ายยกเว้นในการส่งลูก
14.1.4 ให้ "เอาใหม่" ถ้าในระหว่างการเล่น ลูกขนไก่แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง
14.1.5 ให้ "เอาใหม" ถ้ากรรมการกำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้
14.1.6 การ “เอาใหม่” สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดในสนามส่งลูก ตามที่ระบุในกติกาข้อ 12.2.1 หรือ 12.2.3 หรือ
14.1.7 ให้ “เอาใหม่” สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน หรือโดยเหตุบังเอิญ
14.2 เมื่อมีการ “เอาใหม่” การเล่นหลังจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ 12 

       15. ลูกไม่อยู่ในการเล่น

       ลูกไม่อยู่ในการเล่น เมื่อ
15.1 ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย
15.2 ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก
15.3 ลูกถูกพื้นสนาม หรือ
15.4 เกิดการ “เสีย” หรือการ "เอาใหม่"
       16. การเล่นต่อเนื่อง, การทำผิด, การลงโทษ

16.1 การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนสิ้นสุดการแข่งขัน ยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.2 พักระหว่างการจบเกมที่ 1 และเริ่มเกมที่ 2 ได้ไม่เกิน 90 วินาที และไม่เกิน 5 นาที ระหว่างจบเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 3 อนุญาตสำหรับทุกแมทช์ของการแข่งขัน (ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า การพักตามกติกาข้อ 16.2 อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด)
16.3 พักการเล่น
เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น
ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.1 เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น
16.3.2 ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.3 ถ้ามีการพักการเล่น คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิม และจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น
16.4 การถ่วงเวลาการเล่น
16.4.1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลัง หรือหายเหนื่อย
16.4.2 กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าแต่เพียงผู้เดียว
16.5 คำแนะนำและการออกนอกสนาม
16.5.1 ห้ามผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.5.2 ห้ามผู้เล่นเดินออกนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรม
การผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างพัก 5 นาที ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 16.2
16.6 ผู้เล่นต้องไม่
จงใจถ่วงเวลา หรือพักการเล่น
จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี
แสดงกิริยาก้าวร้าว หรือ
กระทำผิดนอกเหนือกติกา
16.7 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ 16.4, 16.5 หรือ 16.6 โดย
16.7.1 เตือนผู้กระทำผิด
16.7.2 ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิดหลังจากได้เตือนก่อนแล้ว
16.7.3 ในกรณีผิดอย่างเห็นได้ชัด หรือผิดอยู่ตลอด ให้ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิด แล้วรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันที ซึ่งกรรมการผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิดออกจากการแข่งขัน

       17. กรรมการสนามและการอุทธรณ์

17.1 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด
17.2 หากมีการแต่งตั้ง กรรมการผู้ตัดสิน ให้มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สนาม และบริเวณโดยรอบสนามแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
17.3 กรรมการกำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน “เสีย” สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งลูกเป็นผู้กระทำผิด (กติกาข้อ 9)
17.4 กรรมการกำกับเส้นเป็นผู้ให้สัญญาณ “ดี” หรือ “ออก” ในเส้นเขตที่ได้รับมอบหมาย
17.5 การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด
17.6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
17.6.1 ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้กฏกติกาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาน “เสีย” หรือ “เอาใหม่” เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น
17.6.2 ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป
17.6.3 แน่ใจว่า ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน
17.6.4 แต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการกำกับเส้น หรือกรรมการกำกับการส่งลูก หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
17.6.5 หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามอื่น จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย
17.6.6 หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็น ต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น หรือให้ "เอาใหม่"
17.6.7 บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ 16 และ
17.6.8 เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาต่อกรรมการผู้ชี้ขาด (คำอุทธรณ์ดังกล่าว จะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป หรือเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนที่ฝ่ายอุทธรณ์จะเดินออกจากสนาม) 
                                                                                                                                                      

อุปกรณ์การเล่นแบดมินตัน




ไม้แบดมินตัน

       ไม้แบดมินตันมี 2 ประเภท คือประเภทไม้และโลหะ มีขนาดไม่เท่ากันแล้วแต่บุคคล และต้องขึงด้วยเอ็นตึง ไม้ไม่บิดเบี้ยว เมื่อเอมือกดแล้วเอ็นไม่หย่อน ในการเลื่อกซื้อไม้แบดมินตัน สามารถทดสอบได้คือ เอ้นขึงตึงหรือไม่โดยเอานิ้งดีด หรือเอาเล็บกรีดเอ็นฟังเสียงเอาก็ได้



  ลูกขนไก่  

            ลูกขนไก่ มีขนาดน้ำหนักระหว่าง 73-85 เกรน (4.73-5.50 กรัม) และต้องมีขนไก่ระหว่าง 14-16 ขนปักอยู่ที่หัวไม้ก๊อก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 2.5-2.8 เซนติเมตร ตั้งแต่ปลายสุดของขนไก่ถึงฐานไม้ก๊อกมีความยาวระหว่าง 6.4-7 เซนติเมตร ขนไก่ต้องแผ่ที่ปลายเป็นวงกลมมีศูนย์กลางยาวระหว่าง 5.4-6.4 เซนติเมตรมีด้ายหรือสิ่งอื่นๆผูกรัดแน่น ลุกขนไก่ที่เชื่อถือเป็นลุกที่มีความเร็วโดยถูกต้องนั้น ต่อเมื่อผู้เล่นที่มีกำลังตามปกติตีลูกพุ่งขึ้นอย่างสุดแรงเกิด จากจุดที่อยู่บนเส้นเขตหลังของด้านหนึ่งเป็นมุมตั้งขึ้นและขนานกับเส้นข้าง ลูกนั้นจะตกลงห่างเส้นเขตหลังอีกด้านหนึ่งเข้ามาไม่ต่ำกว่า 1 ฟุตและไม่เกิน 2 ฟุต 6 นิ้ว


สนามแบดบินตันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 2 ประเภท คือ
    1.  ประเภทคู่ ต้องทำแบบประเภท ก. ซึ่งมีความยาวตามที่ได้กำหนดไว้ในแบบนั้น และต้องทาเส้นด้วยสีดำ สีขาง หรือสีอื่นๆ ที่สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจนมีความกว้าง0.04 เมตรมนการทำเส้นสนาม ส่วนกว้าง ของเส้นกลางทั้ง 2 เส้น จะแบ่งออกเป็นส่วนเทาๆกัน ส่วนหนึ่งอยู่ในสนามส่งลูกทางขวา อีกส่วนอูย่ทางซ้าย ส่วนกว้างของเส้นส่งลูกยาวและเส้นส่งลูกสั้นจะต้องรวมกันได้ 3.96 เมตร ของสนามส่งลูกและเส้นกว้างของเส้นต่างๆ จะต้องรวมอยู่ในความกว้างยาวของสนามที่กำหนด
    2.  ประเภทเดี่ยว ในที่ที่ไม่สามารถสร้างสนามประเภทคู่ได้ อาจเนื่องมาจากมีสิ่งกีดขวาง หรือเนื้อที่ไม่เพียงพอ อาจทำเป็นสนามเดียวได้ ดดยทำแบบ ข. เส้นหลังก็กลายเป็นเส้นส่งลูกยาวไปด้วย และเสาหรือวัสดุอื่นๆที่ใช้แทนเสา ดังที่กล่าวไว้ในกติกา ข้อ 2 จะต้องอญู่ที่เส้นเขตด้านข้างและเสาจะต้องอยู่ห่างพื้นสนาม 1.55  เมตร ตอนบน ของตาข่ายติดแถบสีขาวพับสองขนาดกว้าง 3 นิ้ว มีเชือก หรือลวดร้อยกลางตลอดแถบผ้านี้ และขึงตึงได้ ระดับหัวเสาทั้ง 2ข้าง

ทักษะในการเล่น


ลักษณะการยืน
    หลักการยืน ที่สำคัญที่สุด คือไม่ควรยืนเท้าตาย ควรยืนโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งนำหน้า(เท้าใดก็ได้)เพื่อการเคลื่อนไหว ที่สะดวกขึ้นไม่ว่าจะไปข้างหน้า ขัางหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา การเคลื่อนที่ของเท้าที่ดี คือ การก้าวเท้าแบบสืบเท้า(Slide) 
         
    การเคลี่อนที่ของเท้า
      ในการเล่นกีฬา การเคลื่อนที่ของเท้าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ที่เรียกว่า "ฟุตเวิร์ค" นั้นต้องความเร็วมากๆ เพราะการเคลื่อนที่ของเท้าไม่เหมือนกัน แล้วแต่ลักษณะการตีลูกโดยมากจะใช้การสืบ เท้า(Slide) เพราะมีการทรงตัวดี เคลื่อนที่ได้สะดวก เปลี่ยนทิศทางได้ง่าย โดยเฉพาะการตีลูกหลังมือ ต้องมีการเคลื่อนที่ของท้าเพื่อให้ตีทัน และสาเหตุที่ทำให้ตีไม่ทันก็เพราะการเคลื่อนที่ของเท้าไม่ดีนั่นเอง    
    การจับไม้
           การจับไม้แบดบินตันควรจับให้คล่องมือ และรักษาหน้าไม้ให้ตีลูกได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ ในการจับไม้ที่ดี ไม้แบดฯต้องตั้งฉากพื้นในลักษณะตะแคงจับที่ด้ามบริเวณที่มีผ้าพันหรือหนังพัน ให้สันมืออยู่ระดับเดียวกับไม้แบดฯ ตรงปลายสุดด้ามของไม้อยู่ที่ง่ามมือพอดี
    อยากดูการจับแบบอื่นไหมล่ะ...Clickเลย
    การใช้ข้อมือและนิ้ว
      การใช้ข้อมือและนิ้วสำคัญต่อการเล่นแบดบินตันมาก เพราะแบดบินตันต้องอาศัยจังหวะ ข้อมือและนิ้วช่วยในการตีลูกเพื่อจะได้ เสริมให้เกิดความแรงและเร็ว การบังคับลูกซ้ายขาวอยู่ที่ข้อมือเป็นสำคัญ เพราะถ้าใช้ข้อมือและนิ้วดีเท่าใด ก็มีโอกาศใช้ หน้าไม้ดีด้วย
    การตีลูกจ้าาา..
      ในการตีแบดนั้น สิ่งที่จำเป็นที่สุด...ก้อ..คือ...การตีลูก(ถ้าไม่งั้นจะเล่นได้ไงล่ะ เป่าลูกกันมั้ง..อิอิ) ในการตีลูกนี้จะมีแบ่งออกเป็นหลายแบบด้วยกันนะคะ ไม่ว่าจะเป็น  การตีลูกหน้ามือ  ที่เราตีๆกันอยู่นี่แหละค่ะ เช่น ลูกตบ ลูกตีโต้ ลูกหยอด ฯลฯ ก็ต้องใช้ลูกหน้ามือทั้งนั้นแหละค่ะ และก็มี  การตีลูกหลังมือ  (ไม่ใช่หลังแหวนนะคะ) ก็มีความสำคัญพอๆกันแหละคะ เอาเป็นว่า เราไปดูกันดีกว่านะคะว่า การตีลูกทั้งสองแบบนี้
    ลูกหยอด
    การจับไม้และยืนให้อยู่ในสภาพพร้อมตลอดเวลา การเล่นลูกหยอดต้องเล่นด้วยไหวพริบจริง และสามารถเล่น ได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ การหยอดลุกต้องตีเบาๆต้องฝึกให้ชำนาญก็จะรู้จังหวะของการหยอด การเล่นลูกหยอดเพือหลอกล่อคู่ต่อสู้ให้ส่งลูกโด่งทำให้เราสามารถตบได้ง่ายหรือเราอาจไม่ตบแต่หยอดต่อก็ได้ วิธีนี้อาจทำให้คู่ต่อสู่เสสียหลักไม่สามารถรับลูกได้
        ข้อปฏิบัติในการเล่นลูกหยอด 1.  ยืนพร้อมเสมอที่จะทำการเล่น ว่าจะเล่นด้วยหน้ามือ หรือหลังมือ 2.  การจับไม้พร้อมที่จะเล่นได้ด้วยหน้ามือ และหลังมือ 3.  ตัดสินใจว่าจะเล่นลูกหยอดด้วยหน้ามือ หรือหลังมือ 4.  ต้องทราบว่าเมื่อหยอดไปแล้วคู่ต่อสู้จะต้องโต้มาด้วยลูกใด 5.  การหยอดที่ดีลูกต้องอยู่ใกล้ตาข่ายมากที่สุด 6.  เท้านำในการหยอดควรใช้เท้าข้างเดียวกับมือที่ตี 7.  ใช้ข้อมือช่วยเล่นในการหยอดมากๆ
    ส่งลูก
                   เป็นการเล่นระยะแรกที่สำคัญ เพราะการส่งลูกที่ดีจะทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถทำแต้มได้ และมีโอกาสตบทำลาย ลูกโต้ของคู่ต่อสู้ได้ง่าย
      หลักในการส่งลูก   1.  จับไม้ได้พอเหมาะที่จะตีทั้งหน้ามือและหลังมือ 2.  ยืนพร้อมเสมอโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ด้านหน้า 3.  หันด้านซ้ายมือเข้าหาตาข่าย เมื่อตีด้วยมือขวา 4.  ปล่อยลูกลงด้วยมือซ้ายระหว่างเท้าซ้ายและเท้าขวา 5.  ตีเมื่อลูกตกต่ำกว่าระดับสะเอว โดยการหงายมือข้างที่จับไม้แบดขึ้นตีเบาๆ ด้วยการใช้ข้อมือ ให้ลูกตกไปทาง      ด้านหลัง หรือเฉียดตาข่ายไปตกทางด้านหน้าก็ได้แล้วแต่ประเภทของการเล่น 6.  ในการส่งลูกเท้าทั้งสอง ต้องอยู่ในสนามของฝ่ายส่งลูกทั้งสองเท้า ไม่เคลื่อนที่ไปก่อนที่จะได้ส่งลูกแล้ว
    การตีลูกตบ
      การตีลูกตบเป็นลูกที่สำคัญ เพราะเป็นทั้งลูกโต้และลูกทำคะแนน ในการเล่นลูกตบมีหลักปฏิบัติดังนี 1.  ถ้าเป็นลูกโด่งเกือบข้ามศรีษะ จะตบโดยใช้ข้อมือ การตบแรงอาจยกเท้าใดเท้าหนึ่งขึ้นเพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนัก 2.  ถ้าเป้นลูกโด่งเฉียงไปทางขวา ต้องเขย่งตัวตบ หรือกระโดดตบ จะตบลูกไปทางด้านซ้าย หรือด้านขวา      ขึ้นอยู่กับการพลิกหน้าไม้ 3.  ถ้าเป็นลูกมาทางด้านซ้ายมือต้องตบด้วยลูกหลังมือ 4.  ต้องตบทแยงให้เฉียดตาข่ายลงพื้น ให้ตกลงพื้นให้ห่างคู่ต่อสู้มากๆ หรือไม่ก็ให้ถูกตัวคู่ต่อสู้ได้ก็ยิ่งดี
      ท่าตบ
    การแข่งขันประเภทเดี่ยว   
          การแข่งขันประเภทเดี่ยวเป็นการทดสอบสมรรถภาพ ทดสอบความอดทน ทดสอบพลังจิต ความแม่นยำของผู้เข้าแข่งขันดังนั้นผู้เล่นจึงควรมีลักษณะดังนี้ 1.  ความสมบูรณ์ของร่างกาย 2.  ความแม่นยำในการตีลูก การบังคับวิถีของลูก 3.  มีพลังของจิตใจดีในการแข่งสู้     ในการตีลูกแต่ละครั้งมีหลักเกณฑ์ว่า 1.  ให้คู่ต่อสู้วื่งไกลที่สุด หรือวิ่งให้มากที่สุด 2.  ให้คู่ต่อสู้เสียแรงมากที่สุด 3.  ให้ตีลูกกลับมาได้ยากที่สุด
               การเล่นประเภทคู่
      1.  เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลูกจะต้องเริ่มส่งลูกจากสนามส่งลูกทางขวามือ 2.  ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัวหรือคู่ขาของผู้รับลูกตีกลับไป ผู้ส่งได้หนึ่งแต้ม 3.  หลังจากที่รับลูกแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งลูกตีกลับไป และอีกฝ่ายก็ตีกลับมาทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น 3.1  หลังจากที่รับลูกที่ส่งมาแล้วผู้สามารถตีโต้จกที่ไหนๆก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น 4.  ถ้าฝ่ายรับทำลูกเสีย ฝ่ายส่งได้หนึ่งแต้ม และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกอีก 4.1  ถ้าฝ่ายส่งลูกทำลูกเสียผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ในการส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้แต้ม 5.  ผู้เล่นที่มีสิทธิ์ส่งลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกมจะส่งลูกหรือรับลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้น        ไม่ได้แต้มในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือ เมื่อแต้มเป็นเลขคี่ 5.1  ผู้เล่นที่เป็นผู้รับลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับลูกหรือส่งลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้น        ไม่ได้แต้มหรือ แต้มเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือเมื่อแต้มเป็นเลขคี่ 5.2  คู่ขาของผู้เล่นต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันในทางตรงข้าม 6.  การส่งลูกทุกครั้ง จะต้องส่งจากสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้าม ยกเว้นตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 14,16 7.  สิทธิ์การส่งลูกผ่านติดต่อกันจากผู้ส่งคนแรกของแต่ละเกมไปยังผู้รับลูกคนแรกในเกมนั้น และจากผู้เล่นคนยั้ยไปยังคู่ขา      และแล้วต่อไปยังผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม 8.  ห้ามมิให้ผู้เล่นส่งลูกหรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่งและผู้รับ 9.  ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายชนะจะเป็นผู้ส่งลฤูกด่อนก็ได้และผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับก็ได้

นักกีฬาที่ชื่นชอบ


บุญศักดิ์ พลสนะ



ประวัติ 

บุญศักดิ์ พลสนะ มีชื่อเล่นว่า "แมน" เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายจิระศักดิ์และนางบุญชื่น พลสนะ แมนมีส่วนสูงอยู่ที่ 178 ซม. น้ำหนัก 70 กก. นักแบดมินตันที่แมนชื่นชอบ คือ สมพล คูเกษมกิจ แมนเป็นบุตรคนที่สามและเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของครอบครัว มีพี่สาว 2 คนและน้องสาว 1 คน (สลักจิต พลสนะ นักแบดมินตันหญิงมือหนึ่งของไทยปัจจุบัน) ด้านการศึกษาแมนเรียนมัธยมต้นที่โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ต่อมัธยมปลาย(สายศิลป์)โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และระดับอุดมศึกษาที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แมนเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันมาตั้งแต่เด็กแล้ว ก่อนจะเริ่มฝึกฝนอย่างจริงจังเมื่ออายุประมาณ 9 ขวบ ด้วยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณจิระศักดิ์ พลสนะ คุณพ่อของแมนมีความมุ่งหมายที่จะให้ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคนเดียวของเขาขึ้นเป็นมือ 1 ของโลกให้ได้ โดยมี ไตรรงค์ ลิ่มสกุล อดีตนักตบทีมชาติไทยในสังกัดทีมเสนานิคม เฝ้าติวเข้มอย่างหนักหน่วง ฝึกซ้อมแบบซ้ำ ๆ จนเกิดความแน่นอน โดยมี “สลักจิต พลสนะ” น้องสาวเฝ้าติดตามและเดินในแนวทางเดียวกัน
จากจุดเริ่มต้นอีก 5 ปีต่อมา “ทนายอ็อด” จีระศักดิ์-บุญชื่น พลสนะ พ่อ-แม่ ของแมนส่งแมนไปฝึกซ้อมที่เมืองจีนตามคำแนะนำของผู้ฝึกสอนที่สโมสรเสนานิคม เพื่อสานความฝันของเขาให้เป็นจริง แมนจึงได้หยุดพักการเรียนเพื่อไปฝึกทักษะแบดมินตันที่เป็นประเทศจีน ขณะที่แมนอายุเพียง 14 ขวบเท่านั้นเอง ทุกอย่างกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี แต่อีก 2 ปีต่อมาพ่อของแมนและมิ้นก็ได้ถูกมะเร็งคร่าชีวิตไป ทำให้แมนต้องกับมาเมืองไทยและเพื่อมาสู้ตายในบ้านเกิด
เมื่อแมนกลับมาฝึกซ้อมที่เมืองไทยโดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก ศ. เจริญ วรรธนสิน นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยและผู้มีพระคุณอีกหลายท่าน ทั้งนี้มีอุปสรรคที่สำคัญ คือ การเรียน ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของแมนไปสอดแทรกอยู่บนเส้นทางแบดมินตันด้วย แต่อย่างไรก็ตาม แมนได้พัฒนาฝีมือขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ถือเป็นนักแบดมินตันที่มีพรสวรรค์ เล่นได้ครบเครื่องทั้งเกมรุกและรับ จนถูกเรียกติดทีมชาติครั้งแรกในซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ที่ประเทศบรูไน และติดทีมชาติมาโดยตลอด โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียง คือ ได้อันดับ 4 แบตมินตันชายเดี่ยวของการแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศกรีซ