วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทักษะในการเล่น

ลักษณะการยืน
    หลักการยืน ที่สำคัญที่สุด คือไม่ควรยืนเท้าตาย ควรยืนโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งนำหน้า(เท้าใดก็ได้)เพื่อการเคลื่อนไหว ที่สะดวกขึ้นไม่ว่าจะไปข้างหน้า ขัางหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา การเคลื่อนที่ของเท้าที่ดี คือ การก้าวเท้าแบบสืบเท้า(Slide) 
         
    การเคลี่อนที่ของเท้า
      ในการเล่นกีฬา การเคลื่อนที่ของเท้าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ที่เรียกว่า "ฟุตเวิร์ค" นั้นต้องความเร็วมากๆ เพราะการเคลื่อนที่ของเท้าไม่เหมือนกัน แล้วแต่ลักษณะการตีลูกโดยมากจะใช้การสืบ เท้า(Slide) เพราะมีการทรงตัวดี เคลื่อนที่ได้สะดวก เปลี่ยนทิศทางได้ง่าย โดยเฉพาะการตีลูกหลังมือ ต้องมีการเคลื่อนที่ของท้าเพื่อให้ตีทัน และสาเหตุที่ทำให้ตีไม่ทันก็เพราะการเคลื่อนที่ของเท้าไม่ดีนั่นเอง    
    การจับไม้
           การจับไม้แบดบินตันควรจับให้คล่องมือ และรักษาหน้าไม้ให้ตีลูกได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ ในการจับไม้ที่ดี ไม้แบดฯต้องตั้งฉากพื้นในลักษณะตะแคงจับที่ด้ามบริเวณที่มีผ้าพันหรือหนังพัน ให้สันมืออยู่ระดับเดียวกับไม้แบดฯ ตรงปลายสุดด้ามของไม้อยู่ที่ง่ามมือพอดี
    อยากดูการจับแบบอื่นไหมล่ะ...Clickเลย
    การใช้ข้อมือและนิ้ว
      การใช้ข้อมือและนิ้วสำคัญต่อการเล่นแบดบินตันมาก เพราะแบดบินตันต้องอาศัยจังหวะ ข้อมือและนิ้วช่วยในการตีลูกเพื่อจะได้ เสริมให้เกิดความแรงและเร็ว การบังคับลูกซ้ายขาวอยู่ที่ข้อมือเป็นสำคัญ เพราะถ้าใช้ข้อมือและนิ้วดีเท่าใด ก็มีโอกาศใช้ หน้าไม้ดีด้วย
    การตีลูกจ้าาา..
      ในการตีแบดนั้น สิ่งที่จำเป็นที่สุด...ก้อ..คือ...การตีลูก(ถ้าไม่งั้นจะเล่นได้ไงล่ะ เป่าลูกกันมั้ง..อิอิ) ในการตีลูกนี้จะมีแบ่งออกเป็นหลายแบบด้วยกันนะคะ ไม่ว่าจะเป็น  การตีลูกหน้ามือ  ที่เราตีๆกันอยู่นี่แหละค่ะ เช่น ลูกตบ ลูกตีโต้ ลูกหยอด ฯลฯ ก็ต้องใช้ลูกหน้ามือทั้งนั้นแหละค่ะ และก็มี  การตีลูกหลังมือ  (ไม่ใช่หลังแหวนนะคะ) ก็มีความสำคัญพอๆกันแหละคะ เอาเป็นว่า เราไปดูกันดีกว่านะคะว่า การตีลูกทั้งสองแบบนี้
    ลูกหยอด
    การจับไม้และยืนให้อยู่ในสภาพพร้อมตลอดเวลา การเล่นลูกหยอดต้องเล่นด้วยไหวพริบจริง และสามารถเล่น ได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ การหยอดลุกต้องตีเบาๆต้องฝึกให้ชำนาญก็จะรู้จังหวะของการหยอด การเล่นลูกหยอดเพือหลอกล่อคู่ต่อสู้ให้ส่งลูกโด่งทำให้เราสามารถตบได้ง่ายหรือเราอาจไม่ตบแต่หยอดต่อก็ได้ วิธีนี้อาจทำให้คู่ต่อสู่เสสียหลักไม่สามารถรับลูกได้
            ข้อปฏิบัติในการเล่นลูกหยอด 1.  ยืนพร้อมเสมอที่จะทำการเล่น ว่าจะเล่นด้วยหน้ามือ หรือหลังมือ 2.  การจับไม้พร้อมที่จะเล่นได้ด้วยหน้ามือ และหลังมือ 3.  ตัดสินใจว่าจะเล่นลูกหยอดด้วยหน้ามือ หรือหลังมือ 4.  ต้องทราบว่าเมื่อหยอดไปแล้วคู่ต่อสู้จะต้องโต้มาด้วยลูกใด 5.  การหยอดที่ดีลูกต้องอยู่ใกล้ตาข่ายมากที่สุด 6.  เท้านำในการหยอดควรใช้เท้าข้างเดียวกับมือที่ตี 7.  ใช้ข้อมือช่วยเล่นในการหยอดมากๆ
    ส่งลูก
                   เป็นการเล่นระยะแรกที่สำคัญ เพราะการส่งลูกที่ดีจะทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถทำแต้มได้ และมีโอกาสตบทำลาย ลูกโต้ของคู่ต่อสู้ได้ง่าย
      หลักในการส่งลูก   1.  จับไม้ได้พอเหมาะที่จะตีทั้งหน้ามือและหลังมือ 2.  ยืนพร้อมเสมอโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ด้านหน้า 3.  หันด้านซ้ายมือเข้าหาตาข่าย เมื่อตีด้วยมือขวา 4.  ปล่อยลูกลงด้วยมือซ้ายระหว่างเท้าซ้ายและเท้าขวา 5.  ตีเมื่อลูกตกต่ำกว่าระดับสะเอว โดยการหงายมือข้างที่จับไม้แบดขึ้นตีเบาๆ ด้วยการใช้ข้อมือ ให้ลูกตกไปทาง      ด้านหลัง หรือเฉียดตาข่ายไปตกทางด้านหน้าก็ได้แล้วแต่ประเภทของการเล่น 6.  ในการส่งลูกเท้าทั้งสอง ต้องอยู่ในสนามของฝ่ายส่งลูกทั้งสองเท้า ไม่เคลื่อนที่ไปก่อนที่จะได้ส่งลูกแล้ว
    การตีลูกตบ
      การตีลูกตบเป็นลูกที่สำคัญ เพราะเป็นทั้งลูกโต้และลูกทำคะแนน ในการเล่นลูกตบมีหลักปฏิบัติดังนี 1.  ถ้าเป็นลูกโด่งเกือบข้ามศรีษะ จะตบโดยใช้ข้อมือ การตบแรงอาจยกเท้าใดเท้าหนึ่งขึ้นเพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนัก 2.  ถ้าเป้นลูกโด่งเฉียงไปทางขวา ต้องเขย่งตัวตบ หรือกระโดดตบ จะตบลูกไปทางด้านซ้าย หรือด้านขวา      ขึ้นอยู่กับการพลิกหน้าไม้ 3.  ถ้าเป็นลูกมาทางด้านซ้ายมือต้องตบด้วยลูกหลังมือ 4.  ต้องตบทแยงให้เฉียดตาข่ายลงพื้น ให้ตกลงพื้นให้ห่างคู่ต่อสู้มากๆ หรือไม่ก็ให้ถูกตัวคู่ต่อสู้ได้ก็ยิ่งดี
      ท่าตบ
    การแข่งขันประเภทเดี่ยว   
            การแข่งขันประเภทเดี่ยวเป็นการทดสอบสมรรถภาพ ทดสอบความอดทน ทดสอบพลังจิต ความแม่นยำของผู้เข้าแข่งขันดังนั้นผู้เล่นจึงควรมีลักษณะดังนี้ 1.  ความสมบูรณ์ของร่างกาย 2.  ความแม่นยำในการตีลูก การบังคับวิถีของลูก 3.  มีพลังของจิตใจดีในการแข่งสู้     ในการตีลูกแต่ละครั้งมีหลักเกณฑ์ว่า 1.  ให้คู่ต่อสู้วื่งไกลที่สุด หรือวิ่งให้มากที่สุด 2.  ให้คู่ต่อสู้เสียแรงมากที่สุด 3.  ให้ตีลูกกลับมาได้ยากที่สุด
               การเล่นประเภทคู่
        1.  เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลูกจะต้องเริ่มส่งลูกจากสนามส่งลูกทางขวามือ 2.  ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัวหรือคู่ขาของผู้รับลูกตีกลับไป ผู้ส่งได้หนึ่งแต้ม 3.  หลังจากที่รับลูกแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งลูกตีกลับไป และอีกฝ่ายก็ตีกลับมาทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น 3.1  หลังจากที่รับลูกที่ส่งมาแล้วผู้สามารถตีโต้จกที่ไหนๆก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น 4.  ถ้าฝ่ายรับทำลูกเสีย ฝ่ายส่งได้หนึ่งแต้ม และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกอีก 4.1  ถ้าฝ่ายส่งลูกทำลูกเสียผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ในการส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้แต้ม 5.  ผู้เล่นที่มีสิทธิ์ส่งลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกมจะส่งลูกหรือรับลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้น        ไม่ได้แต้มในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือ เมื่อแต้มเป็นเลขคี่ 5.1  ผู้เล่นที่เป็นผู้รับลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับลูกหรือส่งลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้น        ไม่ได้แต้มหรือ แต้มเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือเมื่อแต้มเป็นเลขคี่ 5.2  คู่ขาของผู้เล่นต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันในทางตรงข้าม 6.  การส่งลูกทุกครั้ง จะต้องส่งจากสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้าม ยกเว้นตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 14,16 7.  สิทธิ์การส่งลูกผ่านติดต่อกันจากผู้ส่งคนแรกของแต่ละเกมไปยังผู้รับลูกคนแรกในเกมนั้น และจากผู้เล่นคนยั้ยไปยังคู่ขา      และแล้วต่อไปยังผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม 8.  ห้ามมิให้ผู้เล่นส่งลูกหรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่งและผู้รับ 9.  ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายชนะจะเป็นผู้ส่งลฤูกด่อนก็ได้และผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น